กระแสการติดตั้งระบบผลิตไฟฟ้าเพื่อจำหน่ายหรือโครงการ โซล่ารูฟ (Solar roof) ตามนโยบาลการสนับสนุนการใช้พลังงานทดแทนของภาครัฐ เปิดโอากาสให้ประชาชนสามารถติดตั้งระบบผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์บนหลังคาบ้านของตัวเอง โดยที่ไฟฟ้าที่ผลิตได้สามารถที่จะจำหน่ายหรือขายให้กับการไฟฟ้าได้ โดยที่ทางรัฐบาลจะซื้อในอัตราที่สูงกว่าไฟฟ้าปรกติ หากมีกำลังการผลิตน้อยกว่า 10 กิโลวัตต์ชั่วโมง จะสามารถขายได้ในอัตราหน่วยละ 6.96 บาท จึงทำให้มีผู้สนใจลงทุนในโครงการนี้เป็นจำนวนมาก
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์เป็นมหาวิทยาลัยชั้นนำของประเทศไทย ได้มองเห็นถึงคุณค่าของการใช้พลังงานทดแทนให้เกิดประโยชน์โดยเฉพาะอย่างยิ่งคือ พลังงานจากแสงอาทิตย์ จึงได้ออกแบบระบบผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์เพื่อใช้สำหรับผลิตไฟฟ้าใช้สำหรับเป็นสถานีชาร์ทไฟฟ้ารถจักรยานไฟฟ้าภายในมหาวิทยาลัย ระบบนี้มีข้อแตกต่างจากระบบการผลิตไฟฟ้าทั่วไปคือ ไม่มีแบตเตอรี่ในการสำรองไฟฟ้า เนื่องจากปัจจุบันแบตเตอรี่มีราคาสูง และยังมีอายุการใช้งานที่จำกัด ดังนั้นจึงออกแบบระบบผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์เป็นชนิดเชื่อมต่อสายส่งภายในมหาวิทยาลัย ซึ่งมีหลักการทำงานตามไดอะแกรมด้านล่างนี้
หลักการทำงานคล้ายกับการผลิตไฟฟ้าเพื่อจำหน่ายให้กับทางไฟฟ้า เพียงแต่แตกต่างตรงที่ไฟฟ้าที่ผลิตได้จากเซลล์แสงอาทิตย์จะถูกเปลี่ยนเป็นไฟฟ้า 220VAC โดยอินเวอร์เตอร์ชนิดเชื่อมต่อสายส่ง (PV Grid inveter) และไฟฟ้าจะถูกส่งเข้าไปใช้ในอาคารโดยตรงซึ่งจะผ่านมิเตอร์ไฟฟ้าเพื่อดูและเก็บค่ากำลังการผลิตไฟฟ้าไว้ ( ใช้ระบบไฟฟ้าทำงานเหมือนแบตเตอรี่สำรองก้อนใหญ่ๆ) ในขณะเดียวกันก็ทำสถานีชาร์ทแบตเตอรี่รถไฟฟ้า โดยใช้ไฟฟ้าจากไฟฟ้าในอาคารระบบนี้จะทำในลักษณะเรียกว่าเครดิตมิเตอร์ จากการสำรวจความต้องการใช้ไฟฟ้าเพื่อชาร์ทให้แก่รถจักรยานไฟฟ้าในมหาวิทยาลัยพบว่า มีความต้องการใช้ไฟฟ้าในการชาร์ทโดยเฉลี่ยประมามาณ 10-12 หน่วยต่อวัน ดังนั้นจึงออกแบบให้มีกำลังผลิตไฟฟ้าจากโซล่าเซลล์ 3,000 วัตต์-ชั่วโมง ซึ่งสามารถรองรับการใช้งานระบบดังกล่าวได้เป็นอย่างดี วัตถุประสงค์ของโครงการนี้นอกจากจะใช้พลังงานที่สะอาดแล้ว ยังมุ่งเน้นให้ผู้ที่สนใจ นิสิตนักศึกษาได้เรียนรู้ระบบผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ และช่วยกันใช้พลังงานให้เกิดประโยชน์สูงสุด
โครงการนี้ได้จัดสร้างสถานีชาร์ทพลังงานแสงอาทิตย์ 2 สถานี โดยติดตั้งแผงโซล่าเซลล์ชนิดเชื่อมต่อสายส่งขนาด 3,000 วัตต์จำนวน 2 ชุด ณ ตึกอธิการบดี และบริเวณห้องน้ำใกล้กับสถานีชาร์ทไฟโดยมีผู้สนับสนุนโครงการคือการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค
ทางเอ็นจินีโอต้องขอขอบพระคุณที่ให้โอกาสเรามา ณ โอกาสนี้ จึงขออนุญาตินำรูปภาพบางส่วนมาแชร์ให้กับแฟนๆของเอ็นจินีโอ เพื่อเป็นแนวความคิดต่อไป
ป้ายแสดงการทำงานติดตั้งด้านหน้าของสถานีชาร์ทรถจักรยานไฟฟ้า
เริ่มติดตั้งแผงโซล่าเซลล์ขนาด 3,000 วัตต์ บนตึกอธิการ โดยช่างมีอาชีพจากทีมงาน เอ็นจินีโอ
โครงสร้างทำจากเหล็กชุปการ์วาไนท์ ทนต่อสภาวะแวดล้อมได้เป็นอย่างดี
อีกชุดติดตั้ง บริเวณหลังคาห้องน้ำใกล้ๆกับ สถานีชาร์ทไฟพลังงานแสงอาทิตย์
อีกมุมเมื่อมองจากด้านล่าง
ด้านล่างของแผงโซล่าเซลล์ติดตั้งไดโอดป้องกันการลัดวงจร เป็นเสมือนเป็นเกราะป้องกันระบบ 2 ชั้น
ติดตั้งโดยใช้อินเวอร์เตอร์ชนิดเชื่อมต่อสายส่งยี่ห้อ ชไนเดอร์ (Schneider) ซึ่งทางเราเป็นตัวแทนจำหน่ายอย่างเป็นทางการ และได้รับการรับรองจากการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (PEA) และการไฟฟ้านครหลวง (MEA) ให้ใช้ในการผลิตไฟฟ้าเพื่อจำหน่ายได้
หลังจากเสร็จแล้ว......
อีกมุมหนึ่ง.......
แม้แต่จะเป็นมุมหนึ่งที่เล็กๆ ในการเริ่มต้นการใช้พลังงานทดแทน... แต่อย่างน้อยก็เป็นก้าวแรกที่สำคัญ ที่จะศึกษาและเรียนรู้กับการใช้งานอย่างจริงๆ
ทางเราต้องขอขอบพระคุณ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต การการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ที่ให้โอกาสเราทำงาน
ด้วยความเคารพ......ทีมงานเอ็นจินีโอ